สร้างวินัยในการออกกำลังกาย โดยใช้หลักจิตวิทยามาหลอกสมอง

“วินัยในการออกกำลังกาย” หนึ่งในสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากมีติดตัว เพราะนอกจากจะฟังดูดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราแล้ว ยังทำให้เราดูจะเป็นคนที่บริหารชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสน่ห์น่าคบหา แต่การจะได้มาซึ่งวินัยในการออกกำลังกายดังกล่าวช่างเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดายเอาเสียเลย เพราะธรรมชาติ มนุษย์มีความรักสบาย การจะให้ต้องฝืนกายฝืนใจไปเข้าฟิตเนสเพื่อออกกำลังกายเหนื่อยยากลำบากจึงเป็นเรื่องยากเสียหน่อย เพื่อให้ได้มาซึ่งนิสัยวินัยที่ดี บางครั้งจึงอาจจำเป็นต้องหัดหลอกสมองของเรากันบ้าง

ทำเหตุให้ Simple&Easy ทำผลให้ Satisfied&Reward

แม้สมองของเราจะเป็นแม่ทัพใหญ่ในการออกคำสั่งลงมาบัญชาการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย แต่บางทีแม่ทัพใหญ่ก็สามารถถูกหลอกด้วยทริคบางอย่างได้ เนื่องจากธรรมชาติของสมองถูกออกแบบให้เลือกจะทำในสิ่งที่ง่าย หลีกเลี่ยงสิ่งที่ยาก เพื่อให้ร่างกายประหยัดพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็น นี่เองที่ทำให้สมองสร้างนิสัยขี้เกียจ ผัดวันประกันพรุ่ง เป็นอุปสรรคในการสร้างวินัยในการออกกำลังกายที่ดีของเรา และนี่คือวิธีทางจิตวิทยาที่เราสามารถใช้หลอกสมองของเราเพื่อสร้างวินัยที่ดีในชีวิตได้

1.เรียบง่ายและทำง่าย (Simple&Easy)

ด่านแรกของการหลอกสมองให้เริ่มต้นออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เงื่อนไขที่จะทำให้สมองยอมปล่อยให้เราลุกออกจากเก้าอี้นุ่ม ๆ ที่นั่งพักอยู่ได้ คือการต้องรู้จักป้อนประโยคหลอกให้สมองเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังจะไปทำนั้นแสนจะเรียบง่ายและไม่สิ้นเปลืองพลังงานแต่อย่างใด เช่น

– เดินไปเข้าฟิตเนสเพื่อชั่งน้ำหนักประจำวัน

– เดินไปเข้าฟิตเนสเพื่อยกดัมเบลล์ขนาด 2 kg 10 ครั้ง

– เดินไปเข้าฟิตเนสเพื่อเดินบนลู่วิ่ง 10 นาที

เมื่อสมองพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นสิ่งที่ง่ายดายเสียเหลือเกิน สมองก็จะผ่อนปรนการบังคับบางอย่าง ปลดล็อกยอมให้เราเดินเข้าฟิตเนสเพื่อไปทำกิจกรรมง่าย ๆ ตามที่เราต้องการในที่สุด

2.พึงพอใจและได้รางวัล (Satisfied&Reward)

เมื่อลากตัวเองมาถึงฟิตเนสได้แล้ว ควรจะต้องหากิจกรรมที่เราทำแล้วรู้สึกดีมาปรนเปรอให้สมองพึงพอใจ โดยกิจกรรมนั้น ๆ ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความภูมิใจในตัวเอง ไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป เมื่อทำสำเร็จแล้วรู้สึกดีเหมือนได้รับมอบรางวัลบางอย่าง เช่น

– ปั่นจักรยานต่อเนื่องครึ่งชั่วโมง

– เล่นฮูลาฮูบติดต่อกัน 15 นาที

– ทายผลกีฬาที่ชอบบน Fun88 Sport

 ซึ่งหากเราสามารถหลอกสมองด้วยกิจกรรมที่ไม่ง่ายไม่ยากดังกล่าวได้สำเร็จ จนเกิดการกระทำต่อเนื่องไปได้เรื่อย ๆ สมองก็จะเรียนรู้ที่จะวางใจในกิจกรรมหรือพฤติกรรมเหล่านี้จนเกิดเป็น “วินัย” ของเราในที่สุด

วินัยที่ดีสร้างนิสัยที่ดี ชี้นำอนาคต

การสร้างวินัยโดยการสร้างเงื่อนไขในการหลอกสมองข้างต้นยังสามารถใช้ได้ในการสร้างนิสัยทุกรูปแบบ ไม่ได้จำกัดแต่เพียงในส่วนการออกกำลังกายเท่านั้น หรือจะเรียกว่าการสร้างวินัยแท้จริงแล้วก็คือจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยก็คงไม่ผิด ดังนั้นก่อนจะเลือกสร้างวินัยใด ๆ ให้พยายามไตร่ตรองให้ดีว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีหรือไม่ เพราะสิ่งที่เราสร้างนั้นย่อมเป็นสิ่งชี้นำอนาคตของเราต่อไปด้วย

วินัยในการออกกำลังกายไม่ได้มีประโยชน์แค่ช่วยในการสุขภาพที่ดีให้เราเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยฝึกฝนเพื่อเอาชนะจิตใจของตัวเองในทุกวัน สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเองในทุกวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะผลักดันให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตตามมา ดังนั้นการรู้สึกฝึกออกกำลังกายง่าย ๆ ทุกวัน อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไปก็เป็นได้

พิลาทิส การออกกำลังกายแนวใหม่ที่ใส่ใจทั้งหุ่นสวยและการสร้างสมาธิไปพร้อมกัน

พิลาทิส คือการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิดว่าคือชนิดเดียวกับโยคะ แต่ความจริงแล้วทั้งพิลาทิสและโยคะมีความแตกต่างกัน เพียงแต่ความแตกต่างนั้นหลายคนอาจจะยังมองไม่ออกจนคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง ซึ่งการเล่นพิลาทิสที่มีความคล้ายคลึงกับการเล่นโยคะนั้น นอกจากวิธีการเล่นยังคล้ายกันแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการเล่นพิลาทิสยังคล้ายกันอีกด้วย

พิลาทิสคืออะไร

          พิลาทิสคือการออกกำลังกายด้วยท่วงท่าที่เบา ๆ เน้นการยืดกล้ามเนื้อ และเน้นการใช้กล้ามเนื้อทุกมัดภายในร่างกายในการขับเคลื่อน โดยเน้นกล้ามเนื้อแกนกลางมากเป็นพิเศษซึ่งก็คือบริเวณหน้าท้องหรือกล้ามท้องเพื่อใช้ในการเกร็งตัวในการสร้างกล้ามเนื้อนั่นเอง พิลาทิสแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามวิธีการเล่น คือพิลาทิสที่ใช้เครื่องเล่นและพิลาทิสบนเสื่อ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ยังคงเน้นการเล่นเพื่อสร้างกล้ามเนื้อด้วยการเคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้าเช่นกัน และเป็นการสร้างอารมณ์และสมาธิในเวลาเดียวกันอีกด้วย

ทำไมพิลาทิสจึงสร้างสมาธิให้กับผู้เล่นได้

          –ท่าเล่นที่เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ โดยสามารถใช้กล้ามเนื้อทุกมัดในการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งท่าในการเล่นพิลาทิสบนเสื่อบางท่าก็คล้ายคลึงกับการเล่นโยคะ แต่ก็ยังมีความแตกต่างในแต่ละท่าบ้าง ซึ่งการเล่นพิลาทิสยังคงเน้นความเชื่องช้าของการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งยังต้องมีการกำหนดลมหายใจเข้า – ออก เพื่อให้สัมพันธ์กับท่วงท่าที่ขยับเคลื่อนไหวนั่นเอง ซึ่งนั่นก็ทำให้มีการกำหนดรับรู้ลมหายใจจนสมองถูกสั่งการให้อยู่กับท่วงท่าและการหายใจเข้าและออกในแต่ละจังหวะ จนทำให้เกิดสมาธิขณะเล่นนั่นเอง ซึ่งนั่นก็ทำให้ผู้เล่นมีจิตใจจดจ่ออยู่กับท่าทางและลมหายใจอยู่เสมอ จนบางคนที่เล่นพิลาทิสอย่างเป็นประจำจะมีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิมได้เลยทีเดียว

          -บรรยากาศขณะเล่นพิลาทิสช่วยส่งผลให้เกิดสมาธิได้ โดยห้องที่เล่นพิลาทิสจะถูกจัดไว้โดยเฉพาะ แยกเป็นส่วนสัดจากฟิตเนสอื่น ๆ ซึ่งบรรยากาศภายในห้องการเล่นพิลาทิสจะเน้นความเงียบสงบ เพราะต้องสร้างความเงียบและการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า อีกทั้งภายในห้องพิลาทิสจะมีเฉพาะกลุ่มคนที่เล่นพิลาทิสด้วยกัน จึงทำให้บรรยากาศบริเวณโดยรอบไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน นี่จึงเป็นเหตุผลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่เมื่อเราทำอะไรภายใต้บรรยากาศเงียบสงบก็ย่อมทำให้เกิดสมาธิมากกว่าบรรยากาศผู้คนที่พลุกพล่านนั่นเอง

          -ทั้งท่วงท่าและเครื่องเล่นพิลาทิสจะเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า เรียกได้ว่าไม่ว่าจะเป็นพิลาทิสบนเสื่อหรือพิลาทิสบนอุปกรณ์ก็ยังคงเน้นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าอยู่ดี ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ช้าลงจากการทำกิจกรรมที่ใช้ความรวดเร็วมาทั้งวัน จึงทำให้มีการกำหนดสมาธิได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผู้เล่นพิลาทิสมีความใจเย็นลงและผ่อนคลายได้มากกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่น

          พิลาทิสจึงมีส่วนช่วยทำให้ผู้เล่นเกิดสมาธิขณะเล่นได้จากเหตุผลที่กล่าวมา ซึ่งหากใครที่หลงใหลการเล่นพิลาทิสอย่างเป็นประจำแล้วล่ะก็ อาจทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้นในระยะยาวได้เลยทีเดียว นอกจากจะปั้นหุ่นสวยด้วยพิลาทิสได้แล้วยังสร้างสมาธิง่าย ๆ จากการเล่นพิลาทิสได้อีกด้วย