การทำสมาธิช่วยบำบัดและบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า

แน่นอนว่าถ้าคุณไม่คิดจะสนใจเรื่องอะไร ถ้าเรื่องราวที่ไม่น่าใส่ใจผ่านหูผ่านตาอยู่เป็นประจำ คนเราจะรู้สึกถึงความเบื่อหน่าย และตามด้วยความรำคาญ จนกลายเป็นความรู้สึกที่มีอคติ เช่น ถ้าคนปกติที่ปฏิเสธโยะคะ อาจเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป “ก็แค่เรื่องหนึ่งที่ฉันไม่สนใจ” แต่คนที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ท้ายที่สุดชีวิตของพวกเขาอาจจบลงที่เตาถ่าน 1 ตัว ถ่านไม้ 1 ถุง และไม้ขีดไฟหนึ่งกล่อง อยากทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ คลิกที่ลิงก์นี้ https://med.mahidol.ac.th/th/depression_risk

ถ้ามีความเสี่ยงสูงหรือรู้ว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้าจงรีบหาทางรักษา

ก่อนอื่นคุณจะต้องยอมรับให้ได้ว่าตัวเองเป็น หรือยอมรับว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น “โรคซึมเศร้า” ถ้าคุณยอมรับกับโรคและความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ นั่นก็แปลว่าคุณเตรียมพร้อมที่จะตาย และเมื่อใดที่ภาวะแห่งโรคซึมเศร้ารุนแรงขึ้น สิ่งที่คุณไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นกับชีวิตคุณ ด้วยน้ำมือของคุณ และไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกต่อไป

วิทยาการทางการแพทย์มีแนวคิดไปในทางเดียวกันว่า การทำสมาธิคือยารักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุด เพราะยาแผนปัจจุบันที่ช่วยบรรเทาอาการโรคซึ่งใช้กันอยู่ 3 กลุ่ม คือ Tricyclic, MAOI และ SSRI มีผลข้างเคียง ถ้าผู้ป่วยทนผลข้างเคียงของยาได้ในช่วงแรกของการเริ่มกินยา อาการโรคซึมเศร้าก็จะทุเลาเบาบางลง แต่ถ้าพวกเขาไม่สามารถอดทนกินยาต่อไปได้ เช่น ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก มีปัญหาในกิจกรรมทางเพศ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ตลอดเวลา บางคนง่วงนอนเสมอ หรือบางคนอาจนอนไม่หลับเพราะจิตใจว้าวุ่นกระวนกระวาย การรักษาด้วยยาจะไม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยของโรคนี้ได้

ดังนั้น การฝึกสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นการช่วยให้ตัวเองมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ มีหลายคนที่ปรับวิถีชีวิตของตัวเองใหม่ นอกจากจะนั่งสมาธิฝึกจิตใจเป็นประจำแล้ว พวกเขายังทักสติของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำอย่างไร? การทักสติตัวเอง คือ การพูดกับตัวเองในใจว่ากำลังทำอะไร ถ้ากำลังกินข้าวก็บอกกับตัวเองว่ากินข้าว กำลังเดินก็บอกตัวเองว่ากำลังเดิน กำลังอ่านหนังสือก็บอกตัวเองว่ากำลังอ่านหนังสือ วิธีนี้จะช่วยให้พวกเขามีสติรู้ตัวอยู้เสมอว่ากำลังทำอะไร เช่นนั้นการที่จิตใต้สำนึกจะถูกดูดเข้าไปในวังวนการออกฤทธิ์ของโรคซึมเศร้า จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้

โยคะช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าได้

การทำโยคะนอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นดีแล้ว ยังช่วยให้มีสมาธิอย่างเฉพาะเจาะจงอีกด้วย เช่น ถ้าคุณกำลังยืดขา สมาธิของคุณจะอยู่ในจุดที่รู้สึกตึงเจ็บที่สุด ไม่ว่าคุณจะยืดส่วนไหนของร่างกาย สมาธิของคุณจะจดจ่ออยู่ที่ส่วนนั้น และการเกร็งกล้ามเนื้ออย่างมีสมาธิ จะทำให้สมองผลิตกรด GABA (Gamma aminobutyric acid) ออกมา ซึ่งสารเคมีตามธรรมชาติของมนุษย์นี้ มีบทบาทสำคัญในการเป็นสื่อกระแสประสาท ในระบบประสาทส่วนกลาง ออกฤทธิ์สร้างความสมดุลในสมอง เมื่อของเหลวทุกอย่างในสมองเกิดความสมดุลกัน สมองจะเกิดความผ่อนคลาย โล่ง และปราศจากความวิตกกังวล อีกทั้งการยืดเกร็งทุกส่วนของร่างกายอย่างมีสมาธิ ยังช่วยให้ระบบร่างกายปล่อยสารไซโตไคน์ที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้อีกด้วย นอกจากการทำโยคะช่วยให้บรรเทาอาการโรคซึมได้แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานอื่น ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เช่น

  1. ลดความดันโลหิตเพราะการยืดอย่างมีสมาธิจะช่วยชะลออัตราการเต้นของหัวใจ
  2. ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
  3. นอนหลับได้สนิท
  4. ปรับปรุงท่าทางในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการนั่งมากเกินไป