คนสูงวัยก็สามารถสร้างความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจให้แจ่มใสได้ด้วยโยคะ

                โยคะเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่ไม่เน้นการใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายมากนัก อีกทั้งยังเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่ลดแรงกระแทกจากการบาดเจ็บ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะจึงเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยที่รักสุขภาพและอยากดูแลตัวเอง เพราะการเล่นโยคะไม่เพียงแค่เป็นการฝึกสมาธิสร้างสติเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างให้ร่างกายแข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกายให้ถูกจุดด้วยนั่นเอง

ข้อดีของการเล่นโยคะของผู้สูงอายุ

                -สร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง เพราะเมื่ออายุที่ร่วงโรยลงไปกล้ามเนื้อและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ไม่ค่อยได้ใช้งานก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลงไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะด้วยท่วงท่าที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ก็จะเป็นการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ ไม่ให้กล้ามเนื้อตายนั่นเอง ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะจึงมีความแข็งแรงมากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลยนั่นเอง

-ฝึกสมาธิและสติ เพราะผู้สูงอายุมักไม่ค่อยได้ใช้การคำนวณเนื่องจากไม่ได้ทำงานแล้ว ดังนั้นจึงอาจเกิดอาการสมองเสื่อมจากการที่ไม่ได้ใช้สมองเลย ดังนั้นหากผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันและมีการฝึกสมาธิและสติแล้ว ก็จะเป็นการฝึกให้ผู้สูงอายุใช้สมองร่วมในการออกกำลังกายด้วยทางหนึ่ง จึงอาจลดอาการสมองเสื่อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

-สร้างสังคมให้กับผู้สูงอายุ แน่นอนว่าการที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง ย่อมสร้างความกังวลใจและความเหงาให้กับพวกท่านได้ ดังนั้นหากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ออกมาพบปะและร่วมกิจกรรมเล่นโยคะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเป็นเสมือนการสร้างกิจกรรมอย่างหนึ่งและให้ได้ออกมาพบเจอคนรุ่นราวคราวเดียวกันในทางอ้อม สร้างความบันเทิงและลดความตึงเครียดไปในตัวด้วย ทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนว่าตนอยู่คนเดียวนั่นเอง

-ช่วยบรรเทาให้อาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ดีขึ้นได้ เพราะคนสูงอายุมักมีโรคประจำตัวตามวัยของตน เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น หากให้คนสูงอายุเหล่านี้ได้ออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะด้วยท่วงท่าที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้มีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม จึงช่วยลดและบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างให้ความดันในร่างกายและการหายใจอยู่ในภาวะดีขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการเล่นโยคะของผู้สูงอายุย่อมต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งยังควรให้ผู้สูงอายุเล่นท่าทางที่ง่าย ๆ ก่อน หากท่าใดทำไม่ได้ก็อย่าฝืน และเริ่มเล่นจากท่าง่าย ๆ ไปก่อน หากมีความชำนาญจึงค่อยเพิ่มระดับของความยากนั้น ๆ