สิ่งแรกที่คุณต้องทำเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ

กีฬาที่มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อจะฉีกขาดมากที่สุด คือ กีฬาที่จะต้องใช้แรงวิ่งอย่างฟุตบอล หรือเจอกับแรงปะทะอย่างอเมริกันฟุตบอล แต่ดูเหมือนว่ากีฬาทั้งสองประเภทนี้ จะต้องใช้ทั้งแรงวิ่งและแรงปะทะตลอดทั้งเกม

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้เสมอ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกาย ย่อมจะมีโอกาสที่กล้ามเนื้อจะได้รับความเสียหาย และตามติดมาด้วยอาการบาดเจ็บ สำหรับคนที่มีประสบการณ์การบาดเจ็บเจ็บของกล้ามเนื้อ หากพวกเขารู้สึกผิดปกติที่เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อ พวกเขาจะหยุดทำกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้แรงกับกล้ามเนื้อทันที หรือลดการใช้แรงกล้ามเนื้อที่ผิดปกติจนกว่าจะสามารถ OFF ได้ เพราะแม้จะเป็นแค่ความรู้สึกที่ผิดปกติ ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริงนั่นคือสัญญาณเตือนว่า กล้ามเนื้อของคุณกำลังเสียหาย การอักเสบและฉีกขาดของกล้ามเนื้อกำลังจะเกิดขึ้น

โดยเฉพาะใครที่นิยมชมชอบการออกกำลังกายในฟิตเนส แน่นอนในฟิตเนสนั้น เต็มไปด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ โดยใช้แรงหดรัดเพื่อเร่งให้เกิดการรวมตัวของโปรตีน จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเครียด (Muscle Strain) และกระบวนการซ่อมแซมกล้ามเนื้อด้วยระบบชีวภาพจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ นี่คือเหตุผลที่ทำให้กล้ามเนื้อคุณโตขึ้น

แต่หากคุณใช้แรงกล้ามเนื้อนานเกินไป รุนแรงเกินไป กล้ามเนื้อที่เกิดความเครียดจัด จะเสียหายจนระบบซ่อมแซมไม่สามารถเยียวยาได้ทัน อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจึงเกิดขึ้น ถ้าอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นจากการใช้แรงกล้ามเนื้อที่ผิดท่า อาจจะเห็นและรู้สึกได้ชัดเจนกว่าอาการบาดเจ็บที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ และท้ายที่สุดกล้ามเนื้อจะพาคุณแอดมิดโรงพยาบาล

ดังนั้น ผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หากพบเพียงสัญญาณธรรมดา ๆ แต่น่าสงสัย พวกเขาจะหยุดกิจกรรมอะไรก็ตามที่ขยับอยู่ทันที เพราะความเสียหายของกล้ามเนื้อนั้น สามารถฉีกขาดได้บางส่วนหรือทั้งหมด เพราะส่วนนั้นคือเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ติดแนบสนิทกับกล้ามเนื้อ และที่สำคัญการฉีกขาดของกล้ามเนื้อนั้นสามารถทำลายหลอดเลือดที่พาดผ่านบริเวณกล้ามเนื้อด้วย และมันเป็นสาเหตุของอาการช้ำหรือเลือดคั่ง

การดูแลกล้ามเนื้อเมื่อรู้สึกผิดปกติ หรือเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ

สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำเมื่อเกิดความผิดปกติหรือเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ คือ พักกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดของคุณทันที จากนั้นใช้น้ำแข็งประคบ (ประคบเย็น) ในช่วงสองสามวันแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือคุณอาจใช้ยาต้านการอักเสบ (Tylenol) ร่วมด้วยก็ได้ (ขึ้นอยู่กับระดับความเจ็บปวด) โดยการออกฤทธิ์ของยาจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้เป็นอย่างดี

และเมื่อความเจ็บปวดของคุณลดลงบ้างแล้ว คุณสามารถประคบร้อนที่กล้ามเนื้อได้ หรืออาจจะยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เพื่อให้เลือดไหลไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ แน่นอนมันจะเป็นประโยชน์มาก แต่ปกติการยืดกล้ามเนื้อและการประคบร้อน จะมีประโยชน์เพื่อวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย และก็สามารถใช้วิธีนี้เมื่ออาการบาดเจ็บของคุณพ้นวิกฤตไปแล้ว

แต่คุณจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที เมื่อเกิดอาการบวมบริเวณกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ หรือไม่สามารถขยับแขนหรือขาได้ และอาการบวมนั้นแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะนั่นคือสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อของคุณ ไม่ได้แค่ตึงเครียดหรือผิดปกติธรรมดา ๆ

ตรวจสอบให้ดี คุณกำลังเข้าใจผิดแบบนี้อยู่หรือไม่?

บางครั้งการออกกำลังกายที่ไม่ได้ผล อาจจะไม่ได้เกิดจากการขาดวินัยในการฝึกของเรา แต่เป็นเพราะเรายังมีเรื่องเข้าใจผิดบางอย่างอยู่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างถูกต้อง เหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่บางครั้งเราก็ต้องหยุดพักเพื่อตรวจสอบตัวเองว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องแน่แล้วหรือไม่

5 สิ่งที่คนเรามักทำเข้าใจผิดในการออกกำลังกาย

‘สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง’ สำนวนนี้ยังใช้สอนใจคนเราได้ดีเสมอในทุก ๆ เรื่องของชีวิต แม้แต่เรื่องของการออกกำลังกายเองก็ตาม ยังมีความเชื่อที่คนเราเข้าใจผิดที่พบเห็นได้อยู่เรื่อย ๆ บางเรื่องอาจจะไม่ได้ส่งผลเสียอะไรมากมาย แต่บางเรื่องก็อาจกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องหมั่นหาความรู้เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีออกกำลังกายให้ถูกต้อง จะได้ไม่เสียทั้งแรงทั้งเวลาไปกับวิธีที่ผิด ๆ แต่กลับไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง ดังเช่นความเชื่อที่คนเรามักเข้าใจผิด 5 ประการดังต่อไปนี้

1.ไม่กินอาหารเช้าเพราะตอนเช้าไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน 

แท้จริงแล้วอาหารเช้าเป็นมื้อที่ควรต้องรับประทานมากที่สุด เนื่องจากเป็นมื้อแรกของวันใหม่ การทานอาหารเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่ดี คล้ายกับการจุดเชื้อเพลิงแรกของวัน ตรงกันข้าม หากเราไม่ละเลยที่จทานอาหารเช้า อาจทำให้การเผาผลาญน้อยลง นำสารอาหารต่าง ๆ ไปใช้ไม่ได้เท่าที่ควร

2.เลือกเล่นเฉพาะคาร์ดิโอหรือเวทอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจุดประสงค์ของการออกกำลังกายก็พอ                     

แท้จริงแล้วในการออกกำลังกาย จำเป็นต้องมีการออกกำลังกายทั้งในส่วนของคาร์ดิโอและเวทเทรนนิ่งควบคู่กันไป เนื่องจากการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอจะทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญที่ดี ทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง ในขณะที่เวทเทรนนิ่งเป็นการออกกำลังกายเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ หากเลือกจะออกแค่เวทเทรนนิ่งอย่างเดียวโดยไม่คาร์ดิโอจะทำให้ปอดและหัวใจอ่อนแอ

3.อยากผอมไว ๆ ต้องอดอาหารและออกกำลังกายหนักทุกวัน

ความเชื่อนี้ผิด เพราะหากอยากลดหุ่นให้ไวที่สุด เราควรจะเน้นการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อมาช่วยในการเผาผลาญไขมันส่วนเกินให้ไว โดยวิธีการที่จะสร้างกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว คือการกินอาหารกลุ่มโปรตีนรวมถึงอาหารอื่นที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง และจำเป็นต้องมีวันหยุดที่ไม่ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและใช้เวลากับการสร้างมวลกล้ามเนื้อของเราบ้าง

4.ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ไม่อ้วน ไม่อันตราย ดีต่อผิวพรรณ

ทุกสิ่งบนโลกน้อยไปมากไม่มีอะไรดีทั้งนั้น ทุกอย่างควรตั้งอยู่ในความพอดี การดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะมากอาจะทำให้ไตทำงานหนักกว่าปกติและอาจเกิดภาวะเป็นพิษจากน้ำขึ้นมาได้ ดังนั้นดื่มน้ำมากไปใช่ว่าจะดีต่อร่างกายอย่างที่เราคิด

5. กินผัก Hydroponic ไม่อ้วน

ผัก Hydroponic กลายเป็นกระแสสังสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ในใจสุขภาพอยู่ช่วงหนึ่ง เรื่องของการกินผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ เลี้ยงที่ดูทันสมัยและอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ฟังดูเหมือนจะดี แต่ภายหลังพบว่าผักแบบ Hydroponic มีการตกค้างของไนเตรตในปริมาณที่สูงมาก เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากบริโภคเป็นจำนวนมาก

อยากมีสุขภาพที่ดี เริ่มจากต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง

ความเข้าใจผิดไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพียงแค่เรารู้จักพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างมีสติเสมอ บางครั้งคนเราก็จำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเติบโตขึ้นในทุก ๆ วัน วันหนึ่งที่ได้รู้และปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมสัมฤทธิ์ผลในสิ่งที่ต้องการตามมา

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับ 5 เรื่องเข้าใจผิดเหล่านี้ มีเรื่องไหนที่คุณเองก็เพิ่งรู้ว่าตัวเองเข้าใจผิดมาตลอดหรือไม่? หากไม่มีเลยก็ดีใจด้วย เพราะนั่นแสดงว่าคุณเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพอย่างถูกต้อง เหลือแค่จะนำความรู้ที่ตนเองมีไปวางแผนจัดการตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไรเท่านั้น

มาลดน้ำตาลในเลือด ด้วยการฝึกโยคะกันเถอะ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “โรคเบาหวาน” (Diabetes mellitus)เป็นหนึ่งในโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย และมีปัญหาในการนำพลังงานไปใช้เนื่องจากมีปัญหาในการนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานสะสม ทำให้ไม่เหมาะที่จะออกกำลังกายทั่วไปที่ใช้แรงเยอะ แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นโยคะจึงกลายมาเป็นตัวเลือกในการออกกำลังกายที่ตอบโจทย์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ค่อยเป็นค่อยไปแต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน ยิ่งกว่านั้นโยคะยังมีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย

กลไกการลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยโยคะ

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักคือ Type 1 ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน และ Type 2 ซึ่งเกิดจากตัวรับฮอร์โมนอินซูลินของเซลล์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทั้งสองกรณีส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นกว่าคนปกติ และส่งผลให้ไตไม่สามารถดูดกลับน้ำตาลจำนวนมากนี้ได้ทั้งหมดจึงสามารถพบน้ำตาลในปัสสาวะของผู้ป่วยได้ด้วย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันมากกว่าปกติ

จากการวิจัยในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งสองชนิด พบว่าผู้ป่วยที่ทำการฝึกโยคะอย่างต่อเนื่องจะสามารถกระตุ้นเบต้าเซลล์ในตับอ่อนให้เพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งเบต้าเซลล์ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยให้ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน Type 1 มีปริมาณฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ในขณะเดียวกันการฝึกโยคะอย่างต่อเนื่องยังช่วยให้ตัวรับอินซูลินในเซลล์เป้าหมายมีความไวต่อการรับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin sensitivity) เพิ่มสูงขึ้น ทั้งสองกรณีส่งผลให้น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลงตามมาในที่สุด

โยคะลดฮอร์โมนเครียด อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

นอกจากโยคะจะมีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดด้วยกลไกดังกล่าวข้างต้น การฝึกโยคะเป็นประจำต่อเนื่องยังช่วยให้ผู้ฝึกลดความกังวล คลายเครียด ทำให้ปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดลดน้อยลงตามมา ซึ่งโดยปกติแล้วฮอร์โมนคอร์ติซอลจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้พลังงานต่าง ๆ เมื่อไม่เกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วยลดลงกว่าปกติด้วยเช่นกัน การฝึกโยคะจึงส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงจากการออกกำลังกายร่วมด้วย

รู้ข้อดีมากมายของโยคะอย่างนี้แล้ว อย่าลืมแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่รู้จักให้ลองเริ่มต้นฝึกฝนดูเพื่อผลดีต่อสุขภาพมากมาย เพราะบางครั้งการให้กำลังใจผู้ป่วยก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการให้คำแนะนำที่ดีเมื่อมีโอกาส ในทางกลับกันหากวันนี้คุณเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กำลังหาวิธีดูแลสุขภาพตัวเองอยู่ โยคะอาจจะเป็นคำตอบของการสร้างสุขภาพที่ดีที่คุณตามหาอยู่ก็เป็นได้

สไตล์การออกกำลังกายแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

ก่อนเริ่มต้นเข้าฟิตเนสเพื่อออกกำลังกายอย่างจริงจัง บางทีคุณอาจจะต้องหยุดถามตัวเองให้แน่ใจก่อน ว่าจุดประสงค์ของการออกกำลังกายในครั้งนี้คืออะไร ไม่ใช่แค่การเห็นคนอื่นวิ่งก็ไปวิ่งด้วยหรือเห็นคนอื่นยกเวทก็ยกตาม เพราะสุดท้ายผลที่ได้จากการออกกำลังกายอาจจะไม่ได้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการเลย ดังนั้นเรื่องของการทบทวนตัวเองให้ดีก่อนเริ่มต้นจึงนับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้การเสียเหงื่อและเสียเวลาของเราไม่กลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

การออกกำลังกาย 3 สไตล์ยอดฮิตกับ 3 วัตถุประสงค์

แนวทางการออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งแต่ละประเภทล้วนให้ประโยชน์ของการออกกำลังกายแตกต่างกันไป ได้แก่

1.การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “คาร์ดิโอ”  การออกกำลังกายประเภทนี้จะเน้นไปที่การเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจให้สูงขึ้นกว่าปกติดต่อกันเป็นเวลานาน ช่วยให้หัวใจและปอดมีความแข็งแรงขึ้น และเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเนื่องจากการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจึงจำเป็นต้องสลายไขมันและกล้ามเนื้อออกมาใช้ในการสร้างพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย การออกกำลังกายประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อเน้นความแข็งแรงระบบต่าง ๆ และอวัยวะภายใจโดยเฉพาะหัวใจและปอดเป็นหลัก ตัวอย่างของการออกกำลังกายประเภทนี้ เช่น วิ่งมาราธอน เต้นแอโรบิค กระโดดเชือก ว่ายน้ำ เป็นต้น

2.การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (Weight training) เป็นการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มแรงดันเพื่อให้กล้ามเนื้อออกแรงต้าน ส่งผลให้มวลของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น เมื่อมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นแล้วการเผาผลาญพลังงานของร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การออกกำลังกายประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีสัดส่วนร่างกายที่ดี หรือมีมัดกล้ามเนื้อสวยงาม โดยอาจจะเวทเทรนนิ่งทุกส่วนหรือแค่บางจุดที่ต้องการก็ได้ ตัวอย่างของการออกกำลังกายประเภทนี้ เช่น การยกน้ำหนัก วิดพื้น โหนบาร์ เป็นต้น

3.การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด (Stretching) การออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้นและผ่อนคลายความตึงในส่วนต่าง ๆ ช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บปวดของกล้ามเนื้อได้ด้วย การออกกำลังกายประเภทนี้เหมาะสำหรับการรักษาอาการออฟฟิตซินโดรม ลดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ บริหารกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายประเภทอื่น หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างของการออกกำลังกายประเภทนี้ ได้แก่ โยคะ เต้นบัลเล่ต์ กายบริหาร เป็นต้น

วิธีการออกกำลังกายแต่ละประเภทล้วนมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนจะเริ่มต้นวางแผนการออกกำลังกายของตัวเอง เพราะหากไม่เข้าใจหลักการส่วนนี้แล้ว สุดท้ายย่อมไม่สามารถเกิดผลสำเร็จอย่างที่เราคาดหวังขึ้นมาได้

วิธีออกกำลังกายที่ดีที่สุดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

การออกกำลังกายที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันไป เพราะจุดประสงค์ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน วิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดจึงเป็นการวางแผนผสมผสานการออกกำลังกายในสไตล์ที่ให้ประโยชน์ตามความต้องการของตนเองเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันก็ต้องออกกำลังกายในแนวทางที่เหลือควบคู่กันไปเพื่อผลที่ดีโดยรวมต่อสุขภาพด้วย

สุดท้ายแล้ว การออกกำลังกายที่ถูกต้องคือการต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราต้องการผลอะไรจากการออกกำลังกาย จากนั้นจึงเน้นแนวทางที่ใช่เพื่อผลที่ชอบ มีวินัยออกกำลังกายสม่ำเสมอและหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นไปเรื่อย ๆ  ถ้าทำได้ตามนี้แล้ว ผลสำเร็จของการออกกำลังกายย่อมเป็นของคุณแน่นอน

“โยคะ” การออกกำลังกายสุดฮิตในหมู่นักเดินทางรอบโลก

การออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับชีวิตในต่างแดน กลายมาเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ใหม่ของโลกยุคปัจจุบัน กิจกรรม “เที่ยวรอบโลก” กลายมาเป็นหนึ่งในเรื่องยอดฮิตในกลุ่มคนยุคใหม่ที่รักความเสี่ยงและการผจญภัยมากกว่าในอดีต แต่การเดินทางไกลย่อมนำมาซึ่งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทั้งทางกายและใจ ดังนั้นนักเดินทางหลายคนจึงหันมาให้ความสนใจในการฝึกโยคะเพื่อช่วยผ่อนคลายร่างกายและฝึกสติสำหรับรับมือทุกเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้สุดท้ายโยคะจึงกลายมาเป็นการออกกำลังสุดฮิตที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยวรอบโลก

5 เหตุผลที่นักท่องเที่ยวรอบโลกเลือกฝึกโยคะ

เหตุผลที่ปัจจุบันโยคะกลายมาเป็นการออกกำลังกายที่บรรดานักท่องเที่ยวรอบโลกหันมาเลือกฝึกระหว่างการออกเดินทาง มีดังต่อไปนี้

1. ประหยัดพื้นที่  –  การเดินทางโดยต้องเปลี่ยนที่นอนแทบจะรายวัน ย่อมไม่สะดวกต่อการออกกำลังกายที่ต้องจัดเตรียมพื้นที่ให้วุ่นวาย โยคะจึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากต้องการพื้นที่น้อยมาก ความกว้างของการฝึกท่าต่าง ๆ ของโยคะต้องการพื้นที่เพียงประมาณสามตารางเมตรเท่านั้น

2. อุปกรณ์น้อย –  สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องแบกกระเป๋าขึ้นหลังเดินไปไหนมาไหนตลอดเวลา ยิ่งมีสัมภาระน้อยชิ้นยิ่งเพิ่มความคล่องตัวให้กับการเดินทาง การออกกำลังด้วยโยคะซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ หรืออาจจะใช้เพียงเสื่อโยคะหนึ่งผืน จึงค่อนข้างสะดวกเป็นอย่างยิ่ง

3. ไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ – โยคะเป็นหนึ่งในการออกกำลังกายไม่กี่ชนิดที่สามารถออกกำลังได้ทุกวันโดยไม่ขึ้นกับสภาพอากาศ ไม่ว่าจะฝนตกแดดออกอย่างไร ผู้ฝึกโยคะก็ยังสามารถเลือกหามุมสงบส่วนตัวและเริ่มต้นฝึกท่าต่าง ๆ ได้โดยไม่เดือดร้อน

4. ยืดเหยียดคลายปวดเมื่อยได้ดี –  การต้องแบกสัมภาระใบโตบนหลังเดินไปเดินมาทั้งวัน แน่นอนว่าต้องทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นที่สุด ท่าต่าง ๆ ของโยคะซึ่งเน้นการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อ แถมยังทำได้ทุกวันโดยไม่จำเป็นต้องหยุดพัก จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้น

5. โพสต์ท่าโยคะถ่ายรูปกับสถานที่ต่าง ๆ ได้ –  หลายท่าของโยคะมีความสวยงามประณีต นักท่องเที่ยวบางรายจึงโปรดปรานที่จะโพสต์ท่าโยคะประกอบกับฉากหลังที่เป็นวิวธรรมชาติ ทำให้ภาพที่ได้ออกมาแปลกตาไม่เหมือนใคร

โยคะกับการเดินทาง สร้างประสบการณ์ สร้างสติ

นักเดินทางท่องโลกหลายคนกล่าวว่าตนเองได้ออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมายของชีวิต เพื่อฝึกจิตใจ เพื่อให้ได้รู้จักตนเอง แท้จริงแล้วการฝึกโยคะก็เช่นกัน จุดประสงค์มุ่งหมายก็เพื่อให้ผู้ฝึกได้มีสติรู้จักตนเองให้ดี เมื่อรู้จักตนเองดีแล้วย่อมเข้าใจชีวิตและสรรพสิ่งต่าง ๆ   บางครั้งการฝึกโยคะก็ไม่ต่างกับการเดินทาง คือเราต้องใช้เวลาเดินทางไปให้ถึงแต่ละจุดหมายที่วางแผนไว้ เมื่อถึงแล้วก็หยุดพิจารณาความหมายของแต่ละสถานที่ให้เข้าใจ จากนั้นก็ออกเดินทางต่อไป จนถึงวันหนึ่งที่ได้เดินทางไปรอบโลกได้สำเร็จ เช่นเดียวกับการพิจารณาจิตใจตัวเองโดยรอบได้สมบูรณ์ ถึงวันนั้นเราคงค้นพบคำตอบที่เราตามหาได้ในที่สุด

รู้อย่างนี้แล้ว ทุกครั้งที่เก็บกระเป๋าออกเดินทางไกล อย่าลืมพกพาการออกกำลังกายง่าย ๆ อย่างโยคะนำไปใช้เสมอ นอกจากจะได้ประโยชน์จากสุขภาพที่ดีแล้ว ยังได้สติจากการฝึกสมาธิ พร้อมรับทุกสถานการณ์ในทุกประสบการณ์ใหม่ ๆ ของการผจญโลกกว้างอีกด้วย

เลือกฟิตเนสอย่างไรให้ใช่สำหรับเรา?

สถานที่ออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้แผนการออกกำลังกายของเราประสบความเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งใจไว้ การจะเลือกฟิตเนสประจำตัวของเราสักแห่ง ไม่จำเป็นต้องเลือกฟิตเนสที่ดีที่สุดในโลก ขอแค่เพียงเมื่อพิจารณาแล้วเราพบว่าเป็นฟิตเนสที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ ความสะดวกของเรา มีมาตรฐานและนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของเราก็ถือว่าผ่านในระดับหนึ่งแล้ว

สิ่งที่ต้องคิดก่อนเลือกสมัครบริการฟิตเนส

การสมัครบริการฟิตเนสเป็นการสมัครเพื่อใช้บริการระยะยาว ส่วนใหญ่มักมีช่วงเวลาสมาชิกฟิตเนสให้เลือกสมัครตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี ดังนั้นก่อนจะเลือกฝากชีวิตฝากสุขภาพไว้กับฟิตเนสที่ไหน ผู้สมัครควรจะต้องทำการศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ หากก่อนสมัครพบว่าทางฟิตเนสมีบางอย่างไม่เข้ากับความต้องการของเราจะได้ถอนตัวทัน และนี่คือสิ่งที่ควรตรวจสอบให้ดีก่อนคิดสมัครบริการฟิตเนส

1.ฟิตเนสเปิดบริการอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่? เปิดมานานเท่าไหร่แล้ว?

เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะหากสมัครไปแล้ว ต่อมาฟิตเนสย้ายหนีหรือจำเป็นต้องร้องเรียนเรื่องดามกฎหมายได้ต่อไป และยังช่วยรับประกันความน่าเชื่อถือขอองฟิตเนสได้ด้วย

2.มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ประจำการตลอดเวลาหรือไม่?

อาจจะไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพประจำตลอดเวลา แต่ในช่วงเวลาที่เราไปฝีกแล้วต้องการคำแนะนำ ควรจะต้องมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้คำแนะนำให้บริการอยู่

3.เราเดินทางมาฟิตเนสสะดวกหรือไม่?

ควรเลือกสถานที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก ไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก เพราะจำเป็นต้องมาออกกำลังกายด้วยในระยะยาว ในกรณีที่ขับรถมาเองก็ควรตรวจดูที่ทางจอดรถให้แน่ใจก่อนว่าเพียงพอและปลอดภัยหรือไม่

4.มีโปรโมชั่นอย่างไร บ่อยแค่ไหน?

สามารถตรวจสอบได้จากสื่อที่ทางฟิตเนสใช้ประชาสัมพันธ์ย้อนหลังได้ หากพบว่าเข้าใกล้ช่วงโปรโมชั่นในปีนั้นอาจสอบถามเจ้าหน้าที่ อีกทั้งลองสอบถามเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของเรา

5.ทดลองเล่นฟรีได้หรือไม่?

หากสามารถเล่นฟรีได้ ควรทดลองเล่นเครื่องเล่นให้ครบทุกชิ้นเพื่อทดสอบคุณภาพของเครื่องเล่น และความหนาแน่นของผู้คนภายในว่าไม่แออัดจนเกินไป

6.ช่องทางติดต่อ เจ้าหน้าที่ตอบคำถามได้เร็วแค่ไหน?

ความรวดเร็วในการตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้วัดความใส่ใจในการให้บริการของทางฟิตเนสได้เช่นกัน หากเจอฟิตเนสที่ตอบข้อซักถามช้าหลายวัน อาจต้องคิดเพิ่มเติมอีกสักนิดก่อนตัดสินใจเลือก

7.ค่าบริการเท่าไหร่ เงื่อนไขอย่างไร บอกราคาชัดเจนไม่มีอะไรแอบแฝงใช่หรือไม่?

สอบถามให้ละเอียดถึงรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสุทธิแล้วเราจะต้องจ่ายในราคาเท่าไหร่ มีข้อแม้ใด ๆ ที่ควรรู้เพิ่มเติมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนจรดปากกาเซ็นต์สัญญาสมัครสมาชิก ควรอ่านรายละเอียดให้ดีก่อนทุกบรรทัด

8.สังคมภายใน เพื่อนร่วมฟิตเนสเป็นอย่างไร?

หากฟิตเนสดูรกร้างว่างเปล่าไม่มีคนมาใช้บริการเลย ควรฉุกใจคิดก่อนว่าทำไม เพื่อนส่วนใหญ่เป็นสไตล์ไหน อันตรายหรือไม่

9.เครื่องเล่นตรงตามความต้องการของเราหรือไม่?

หากเรามุ่งเน้นจะสร้างกล้ามท้องให้ชัด แต่เครื่องเล่นเน้นกล้ามท้องไม่มีเลย ก็ควรเปลี่ยนไปที่ทางที่มีเครื่องเล่นตรงกับความต้องการของเรามากกว่า

10.มีคลาสพิเศษให้เข้าร่วมหรือไม่ จำเป็นต้องเสียเงินเพิ่มหรือเปล่า?

11.ห้องน้ำสะอาดหรือไม่ มีห้องอาบน้ำให้ด้วยหรือไม่

12.ความปลอดภัยของล็อกเกอร์ในฟิตเนส          

ฟิตเนสที่ใช่ที่สุด ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด

ในหลาย ๆ ครั้งของการเลือกสิ่งของอะไรสักอย่าง เราอาจจะพบว่าสิ่งที่เหมาะสมกับเราที่สุด จริง ๆ แล้วอาจไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ดีสุดเสมอไป การเลือกฟิตเนสเองก็เช่นกัน ควรเลือกสถานที่ที่เราสะดวกเดินทางไปและสบายใจจะใช้บริการ หรือนั่นก็คือเลือกที่ ๆ คิดว่าใช่ที่สุดสำหรับเรานั่นเอง

แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างความมีวินัยในการไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสอย่างสม่ำเสมอด้วย ไม่เช่นนั้นต่อให้พบเจอกับฟิตเนสที่ใช่ที่สุดสำหรับเราแล้ว แต่เราไม่ได้แบ่งเวลาไปออกกำลังเลย มีฟิตเนสดีแค่ไหนก็คงไร้ประโยชน์

นอนไม่หลับอยู่ใช่ไหม โยคะช่วยได้!

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยมีประสบการณ์เผชิญกับปัญหาหลับยาก หรืออาการนอนไม่หลับอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต การนอนไม่หลับฟังดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต แต่เจ้าปัญหาไม่ใหญ่ที่ว่านี้กลับทำให้เกิดความรู้สึกทรมานจิตใจและยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเราอย่างมาก แต่ข่าวดีคือปัญหาดังกล่าวสามารถรักษาได้ไม่ยากนัก โดยโยคะก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่ถูกนำมาใช้บำบัดอาการนอนไม่หลับอย่างได้ผลและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

การฝึกโยคะเพื่อรักษาความผิดปกติด้านการนอน

ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep disorder) เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญในสังคมอย่างไม่น่าเชื่อ โดยพบว่าร้อยละ 30 ของประชากรมีปัญหาการนอนหลับได้ยาก เนื่องจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน การทำงานหรือพักผ่อนอย่างไม่เป็นเวลา และการขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม  มีส่วนน้อยมากที่ปัญหาดังกล่าวจะเกิดจากความผิดปกติของสมองและเส้นประสาทโดยตรง  และหากความผิดปกติด้านการนอนดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งเรื้อรังยาวนานเกินกว่า 3 สัปดาห์โดยไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข ผู้ป่วยจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้มีความผิดปกติด้านการนอนแบบเรื้อรัง ซึ่งจะเริ่มส่งผลกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดโรคอื่นตามมาก ในบางกรณีแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้ยานอนหลับเพื่อช่วยรักษาร่วมด้วย

งานวิจัยหนึ่งในประเทศอินเดีย นักวิจัยได้ทดลองให้ผู้มีความผิดปกติด้านนอนแบบเรื้อรังเข้ารับการรักษาในโปรแกรม 10 สัปดาห์ของการฝึกโยคะพร้อมจดบันทึกติดตามการนอนหลับของผู้มีปัญหาความผิดปกติด้านการนอนอย่างต่อเนื่องทุกวัน พบว่าผู้ป่วยดังกล่าวมีพัฒนาการของประสิทธิภาพการนอน (sleep efficiency) เวลาที่ใช้ในการนอนหลับ (total sleep time) จำนวนครั้งที่ตื่นขึ้นระหว่างนอน (total wake time) และระยะเวลาเข้าสู่ภาวะหลับ (sleep onset latency) ดีขึ้นมาก ซึ่งวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจน  และสำหรับบุคคลทั่วไปที่ทำการฝึกฝนโยคะสม่ำเสมอพบว่ามีคุณภาพการนอนหลับดีกว่าปกติ โดยมีช่วงคลื่นสมองของการหลับลึกยาวนานกว่าคนทั่วไป

การนอนที่มีประสิทธิภาพ สร้างชีวิตที่มีประสิทธิผล

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินผู้คนพูดว่า “การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด” ทั้งนี้เนื่องจากการนอนที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สมองได้รับการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากถูกใช้งานมาทั้งวันได้อย่างเต็มที่ การนอนหลับพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้สมองได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ จะคิดอ่านการใดก็ไม่ติดขัด ส่งผลดีต่อทั้งหน้าที่การใช้ความคิดและความสามารถในการจดจำในชีวิตประจำวันของเรา การนอนที่ดีจึงสร้างชีวิตที่ดีตามมานั่นเอง

หากวันนี้คุณเป็นหนึ่งในผู้มีปัญหาการนอน ไม่ว่าจะเป็นการการนอนหลับยาก ไม่สามารถนอนหลับต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน หลับได้ไม่สนิท หลับไม่ลึก หรือแม้แต่การนอนหลับได้แต่รู้สึกไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันนี้อาจถึงเวลาแล้วที่คุณจะเริ่มให้ความสนใจกับโยคะ หนึ่งในการออกกำลังกายที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถช่วยบำบัดปัญหาการนอนอย่างได้ผล

“ปราณายามะ” ลมหายใจของโยคะ

ศาสตร์แห่งโยคะได้รับการบันทึกรวบรวมตำราเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดยปตัญจลี (Patanjali) ซึ่งกล่าวว่าโยคะเป็นการฝึกเพื่อควบคุมจิตใจให้สงบนิ่ง ช่วยให้พลังงานชีวิตไหลเวียนทั่วร่างกายโดยไม่ติดขัด ซึ่งหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้คือการฝึกกำหนดลมหายใจของตนเองให้เป็นระบบเพื่อให้เกิดสติรู้จักตัวตน การฝึกปราณายามะจึงนับว่าเป็นการฝึกสมาธิวิธีหนึ่งนั่นเอง

วิธีฝึกหายใจแบบปราณายามะอย่างง่าย

ปราณายามะ (Pranayama) เกิดจากการสมาสศัพท์ในภาษาสันสกฤต 2 คำ คือ ปราณา (Prana) หมายถึง ลมหายใจหรือชีวิต และอยามะ(Ayama) หมายถึงการยืดอกและกลั้นลมหายใจเอาไว้ ดังนั้นหลักในการฝึกปราณายามะจึงประกอบไปด้วย การฝึกหายใจเข้า การฝึกหายใจออก และการฝึกกลั้นลมหายใจ การหายใจแบบปราณายามะขั้นต้นจะฝึกหายใจเข้าและออกสลับไปกับแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติท่าต่าง ๆ ของโยคะ โดยจะหายใจเข้าเมื่อเริ่มปฏิบัติท่า หายใจออกเมื่อคลายท่า (หรือกลับกันขึ้นกับท่าที่ปฏิบัติ) โดยแต่ละท่าจะหายใจเข้าออกสลับกันไปประมาณ 4-6 ครั้ง

วิธีฝึกการหายใจแบบเบื้องต้นในทางโยคะที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการฝึกหายใจเข้าออกสลับกับการปฏิบัติท่าโยคะสามารถทำโดยอาศัยหลักที่ว่า ร่างกายหายใจเข้าเพื่อนำลมหายใจมาใช้สร้างพลังงาน ดังนั้นจังหวะในการหายใจเข้าคือเมื่อเริ่มเต้นข้าสู่ท่าของโยคะ เมื่อถึงจังหวะที่ต้องออกแรงให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือจำเป็นต้องเกร็งตัวผู้ฝึกจะเริ่มกลั้นลมหายใจไว้และเคลื่อนไหวในช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนจังหวะการหายใจออกคือเมื่อเข้าสู่การคลายตัวของกล้ามเนื้อหรือการคลายท่าทางที่ปฏิบัติอยู่เพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติ การฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อเรียนรู้ที่จะปรับตัวและมีความยืดหยุ่นสอดคล้องในการยืดเหยียดท่าทางต่าง ๆ ตามลักษณะการหายใจของผู้ฝึกในที่สุด

การหายใจผิดจังหวะขณะฝึก มีผลเสียอย่างไร

สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกโยคะใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยขึ้นมาในใจว่าหากตนหายใจผิดจังหวะหรือไม่ใส่ใจที่จะฝึกการหายใจควบคู่ไปกับการฝึกโยคะด้วยจะเป็นอะไรหรือไม่ คำตอบคือผู้ฝึกอาจไม่ได้รับผลดีของการฝึกโยคะสูงสุดเท่าที่ควรจะได้ และอาจเกิดการบาดเจ็บของอวัยวะบางอย่างระหว่างปฏิบัติโยคะบางหากไม่ระวังให้ดี เนื่องจากการฝึกหายใจเข้าออกดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถนำออกซิเจนในลมหายใจไปใช้ได้สูงสุด อีกทั้งยังช่วยให้การหดคลายของกล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งมีลักษะเป็นแผ่นกั้นระหว่างช่องออกและช่องท้องของมนุษย์ เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งหากไม่ระวังในการหายใจให้ดีอาจทำให้หายใจผิดจังหวะจนเกิดอาการจุกเสียด อวัยวะภายในถูกเบียดมากกว่าปกติ หรือในบางกรณีอาจเกิดอาการสะอึกเนื่องมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลมและการหายใจไม่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้การไม่เรียนรู้ที่จะฝึกหายใจให้ถูกต้องควบคู่ไปกับการฝึกโยคะ ยังทำให้ผู้เรียนพลาดที่จะได้ฝึกสติรู้เท่าทันการเคลื่อนไหวตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิชนิดหนึ่งด้วย

ดังนั้นแล้วการฝึกโยคะให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด นอกจากการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติท่าทางต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามหลักแล้ว ผู้ฝึกจำเป็นต้องใส่ใจในการฝึกหายใจแบบปราณายามะอย่างระมัดระวังร่วมด้วยเช่นกัน หากสามารถปฏิบัติท่าได้สวย หายใจถูกวิธี ทั้งผลของสุขภาพที่ดีและสมาธิสติย่อมบังเกิดแก่ผู้ฝึกอย่างแน่นอน

เหตุใดโยคะจึงเรียก “ต่อมไพเนียล” ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์?

ผู้ฝึกโยคะหลายท่านคงจะคุ้นเคยดีกับทฤษฏีจักระทั้ง 7 (Chakras) ซึ่งหมายถึงจุดตัดลมปราณอันเป็นแหล่งพลังงานชีวิตที่สำคัญทั้ง 7 แห่งตามตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยนับขึ้นมาจากตำแหน่งแรกที่ปลายสุดของกระดูกก้นกบเรื่อยมาจนถึงตำแหน่งที่สูงที่สุด คือจุดตัดตรงกึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสองอันเป็นตำแหน่งของ สหัสสราระ (Crown ChakraSahasrara) ซึ่งในทางโยคะเชื่อกันว่าเป็นตำแหน่งของตาที่สาม ซึ่งเป็นดวงตาที่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของเรา โดยต่อมาได้มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบในทางวิทยาศาสตร์และเชื่อกันว่าตำแหน่งดังกล่าวนั้นคือตำแหน่งของต่อมไพเนียล หนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญของมนุษย์

ต่อมไพเนียลในทางวิทยาศาสตร์กับความเกี่ยวข้องกับตาที่สาม

ตามความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เป็นต่อมไร้ท่อเพียงชนิดเดียวที่ทำงานขึ้นกับอิทธิพลของแสงสว่างที่เรามองเห็น โดยเมื่อมีแสงมากตกกระทบกับดวงตาของคนเราจะเกิดการนำกระแสประสาทไประงับการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้ต่อมไพเนียลไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาได้ ตรงกันข้ามกับช่วงเวลาที่ไม่มีแสงหรือช่วงกลางคืน ต่อมไพเนียลจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งช่วยในการนอนหลับของคนเราออกมา ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าเพราะต่อมไพเนียลมีบทบาทสำคัญให้เกิดการหลับลึกและเกิดความฝัน สอดคล้องกับลักษณะของตาที่สามที่เชื่อว่าเป็นดวงตาที่เชื่อมต่อระหว่างจิตวิญญาณของคนเรา  การฝึกโยคะที่จดจ่อต่อตำแหน่งเดียวกับบริเวณของต่อมไพเนียลจึงอาจจะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียลให้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินได้มากขึ้น และทำให้เกิดภาวะเข้าสู่สมาธิในระดับลึกได้ในทำนองเดียวกับการทำให้เกิดการหลับลึกเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าในสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดอย่างกิ้งก่าทัวทารา (Tuatara) กิ้งก่ายุคดึกดำบรรพ์ซึ่งมีต้นกำเนิดในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ที่เกาะทางใต้ของประเทศนิวซีแลนด์)  พบต่อมไพเนียลยื่นเหนือส่วนหัวอยู่ในส่วนกลางของกระหม่อมและทำหน้าที่ในการรับแสงได้เช่นเดียวกับดวงตา ในบางครั้งจึงอาจเรียกกิ้งก่าทัวทาราว่ากิ้งก่าสามตาก็ได้  กรณีที่ต่อมไพเนียลของเจ้ากิ้งก่าสามตาสามารถรับแสงได้เช่นเดียวกับดวงตานี้ยิ่งตอกย้ำสมมุติฐานว่าต่อมไพเนียลอาจจะทำหน้าที่เป็นตาที่สามของมนุษย์ดังที่มีบันทึกไว้ในทางโยคะได้ด้วยเช่นกัน  ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในปัจจุบันผู้คนจึงเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าจักระที่ 7 หรือตาที่สามที่ถูกกล่าวถึงในทางโยคะนั้น ก็คือต่อมไพเนียลของมนุษย์นั่นเอง

การเปิดขึ้นของตาที่สามทางโยคะกับต่อมไพเนียล

จากทฤษฏีความเชื่อของเรื่องจักระทั้ง 7 ของมนุษย์ ในทางโยคะมีความเชื่อว่าหากผู้ฝึกโยคะสามารถฝึกฝนจนสามารถกระตุ้นจักระทั้ง 6 ได้แก่ มูลธาร สวาธิษฐาน มณีปุระ อนาหตะ วิศทะ และอะชะ ได้แล้ว  จักระตำแหน่งสุดท้ายจะถูกกระตุ้นตามมาด้วยเช่นกัน  สอดคล้องกับการทำงานของต่อมไพเนียลซึ่งมีหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินเพื่อไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน FSH และ LH ที่ถูกหลั่งจากต่อมใต้สมอง ช่วยควบคุมสมดุลไม่ให้ FSH และ LH มีปริมาณมากเกินไป  ดังนั้นการกระตุ้นต่อมใต้สมองจนเกิดการหลั่ง FSH และ LH ในปริมาณมาก ย่อมส่งผลให้ต่อมไพเนียลเกิดการกระตุ้นเพื่อหลั่งฮอร์โมนเมลานินมายับยั้งฮอร์โมนดังกล่าวในเวลาต่อมานั่นเอง

คำกล่าวที่ว่าตาที่สามคือดวงตาที่สามารถเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของเรา ทำให้เกิดความตระหนักรู้และเข้าใจสรรพสิ่งต่าง ๆ แท้จริงแล้วอาจจะหมายถึงการฝึกสมาธิให้รู้จักหยุดนิ่งเพื่อพิจารณาจิตใจของตนเองให้ดี เพราะเมื่อเราสามารถเข้าใจกลไกจิตใจของตัวเองได้ดีแล้ว เราก็ย่อมเข้าใจทุกสรรพสิ่งตามมาเช่นกัน

“โยคะ” หนึ่งในการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม

ในปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตอย่างมาก คนรุ่นใหม่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพที่ดีเพื่อชีวิตที่ยืนยาวและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยเหตุนี้ “โยคะ” จึงได้กลายมาเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีผลงานวิจัยทางวิชาการมากมายออกมาให้การรับรองว่าโยคะมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมวัยของมนุษย์อย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอความเสื่อมของสมอง อวัยวะที่เปรียบเสมือนแม่ทัพใหญ่ของร่างกายมนุษย์

ภาวะสมองเสื่อม ความเสี่ยงสูงในผู้สูงอายุ

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือ ภาวะที่สมองสูญเสียความสามารถในการจดจำ การคิดวิเคราะห์และทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้แย่ลง ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในภาวะสมองเสื่อมสูงถึง 50 ล้านคน และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นราว 10 ล้านคนในทุกปี โดยประมาณ 60-70% ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) หรือโรคความจำเสื่อมจากการตายของเซลล์ประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการลืมเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแบบถาวร ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หลายรายถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้พิการไม่สามารถอยู่อาศัยโดยลำพัง จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด บางครอบครัวแบกรับภาระไม่ไหวเพราะเกินกำลังจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในที่สุด

ในปี 2014 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Teesside ประเทศอังกฤษได้ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย The Happy Antics Program สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อม และค้นพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ออกกำลังกายด้วยการฝึกโยคะ มีการตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การออกกำลังกายด้วยโยคะยังมีส่วนช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้อย่างได้ผล เนื่องจากลักษณะการออกกำลังกายของโยคะที่เน้นให้ผู้ฝึกเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ ช่วยให้สมองเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลในเชิงลึกและประสานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นการบริหารทั้งส่วนของร่างกายและสมองไปในคราวเดียวกัน อีกทั้งลักษณะการเคลื่อนไหวในการฝึกที่เชื่องช้าค่อยเป็นค่อยไป ไม่กระแทกลงน้ำหนักรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้ป่วย โยคะจึงเป็นทั้งการบำบัดและการออกกำลังที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมสูงเป็นอย่างดี

สมองดี ชีวิตดี สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

นอกจากสมองจะทำหน้าที่ในการคิดอ่านประมวลผลในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน สมองยังเป็นคลังความรู้ชั้นยอดที่เก็บรักษาประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตของคนเราไว้มากมาย ซึ่งช่วยให้มนุษย์ต่อยอดความคิดอ่านเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ ดังนั้นการดูแลรักษาสมองไม่ให้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาจึงเป็นเรื่องที่เราควรต้องให้ความสำคัญ จริงอยู่ว่าความชราเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่การวางแผนชีวิตที่ดีจะทำให้เราสามารถก้าวเข้าสู่วัยชราได้อย่างมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

การก้าวเข้าสู่วัยชราอาจไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด หากเรามีการดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้ดี โดยเฉพาะสมองที่ยังมีประสิทธิภาพในการคิดอ่านและจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในวันที่ยังเป็นหนุ่มสาวสุขภาพแข็งแรง อย่าลืมที่จะใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่ออนาคตที่ดีต่อไปด้วย